รับปิดงบการเงินเปล่า
ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับปิดงบการเงินเปล่า รับปิดงบการเงินทั่วไทย ทราบกันดีว่า ทุกๆ สิ้นปี 31 ธันวาคม นิติบุคคลจะต้องปิดงบการเงิน เพื่อ นำส่ง กระทรวงพาณิชย์ กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีระยะเวลากำหนดรับงบการเงิน หากยื่น เกินกำหนด ก็จะก่อให้เกิด ค่าปรับต่างๆ และยังส่งผลกระทบด้านอื่น ตามมา เช่น บางบริษัท อาจจะเป็นต้องใช้งบการเงินในการยืมกู้สินเชือต่างๆ หรือใช้ประมูลงานราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้งบการเงิน ประกอบ ดังนั้น บริษัท ยินดีที่จะให้บริการ ปิดงบการเงินให้กับ นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลหมู่บ้าน โรงเรียน ฯลฯ การยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ใบทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) หน้าที่การยื่น แบบแสดงรายได้ เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ ให้ยื่น ภายในสินเดือน มีนาคม ของทุกปี ซึ้งของดีคือ ผุ้ประกอบการสามารรถใช้เอกสารการเสียภาษี เป็นเอกสารประกอบการยืมกู้ของสินเชือได้ เพราะสถาบันการเงินจะขอหลักฐานที่แสดงว่ามีรายได้
บริการเริ่มตั้งแต่การให้ คำแนะนำในการเลือกประเภทจดทะเบียนธุรกิจ วางระบบบัญชี ทำบัญชีรายเดือน การวางแผนกำหนดชำระภาษี ปิดงบการเงิน จนถึง ตรวจสอบงบการเงิน พร้อมนำส่ง กระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ให้ทันตามเวลากำหนด โดยให้ลูกค้าเสียภาษี น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ไม่ใช่การจัดตั้งบริษัทจำกัด หรือจดห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่เป็นเรื่องของการวางแผนภาษี การจัดทำบัญชี มากกว่า การดูแลให้ธุรกิจอยู่รอดในแต่ละปี ทำอย่างไรถึงจะมีงานตลอด ขายของได้ตลอด มียอดขายดี สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ต้องการมากกว่าแค่การทำบัญชีทั่วๆไป คือ “คำปรึกษา” ซึ่งทางบริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด เป็นมากกว่าสำนักงานบัญชี สิ่งที่เราให้ จะมีมูลค่ามากกว่าค่าบริการที่เราได้รับ เราให้ได้เพราะเราขาย “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่ผู้บริหารหลายท่านต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ แต่เรานำมาถ่ายทอดให้ท่านฟรี เพียงเพราะเราต้องการให้ธุรกิจของท่านเติบโต และดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยดีตลอดไป
ปรึกษาเรื่องการปิดงบการเงิน จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555
รับปิดงบเปล่า รับปิดงบการงานเงินเปล่า ปิดงบเปล่า ปิดงบการเงินเปล่า ปิดงบเปล่าด่วน
บริการจดทะเบียนบริษัท
รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา จองชื่อนิติบุคคล จัดเตรียมแบบ ไปจดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
บริการขอใบอนุญาต
บริการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงงาน ท่องเที่ยว ใบอนุญาต อย.และ สคบ. ขอวีซ่า work permit ขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของ
บริการด้านรับทำบัญชี
บริการด้านรับทำบัญชี เพียงไม่กี่รายในประเทศไทย ที่มีมาตรฐานในการทำงาน เนื่องด้วยผู้บริหารหลายท่าน มีวิสัยทัศน์ในเรื่องการบริหาร การตลาดยุคใหม่
พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม
พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
- ฟรี เว็บไซต์ สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
- ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
- ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
- ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
- ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
- ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
- ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
สิ่งที่ลูกค้าได้รับ
ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฟรี ออกแบบตรายางให้เลือก 3 แบบ
ฟรี ตรายางหมึกในตัว 2 อัน *
ฟรี ไฟล์ตรายาง สำหรับนำไปใช้งาน (ไฟล์ AI)
ฟรี เอกสารสำหรับเปิดบัญชีธนาคาร
ฟรี แบบฟอร์มเอกสารทางบัญชี
ฟรี นามบัตรสำหรับออกใบกำกับภาษี
ฟรี คอร์สอบรมผู้ประกอบการใหม่ (มูลค่า 5,900 บาท)
ฟรี จัดทำบัญชี ฟรี 1 เดือน ***
ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์
หนังสือรับรองบริษัท
รายละเอียดวัตถุประสงค์บริษัท
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ออกแบบเว็บไซต์ องค์กร/หน่วยงาน ราคาพิเศษ 5,000 บาท
*** หมายเหตุ
- * ตรายางอันที่ 2 และ 3 เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด
- *** จัดทำบัญชีฟรี 1 เดือน สำหรับลูกค้าใหม่ที่ตกลงใช้บริการทำบัญชี ตั้งแต่ 12 เดือน ขึ้นไป
จังหวัดอุบลราชธานี
คำขวัญ: อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล
ศาลากลางจังหวัด
- ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
อุบลราชธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้นๆ ว่า อุบลฯ อักษรย่อ อบ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[2] นับเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่ อาทิ ภาพเขียนสีที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม[3] และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้คือแห่เทียนพรรษา[4] มีพื้นที่อยู่ติดกับอำนาจเจริญ, ยโสธร, ศรีสะเกษ, ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งโคราช โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขาสลับซับซ้อนในชายแดนตอนใต้ โดยมีเทือกเขาที่สำคัญคือทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างตัวจังหวัดและประเทศลาว และมีแม่น้ำสำคัญๆ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำที่สำคัญๆ หลายสาย อาทิ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีการทำนาข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และทำการประมงอยู่เล็กน้อย และยังมีอาชีพอื่นๆ ที่สำคัญด้วย อาทิ อุตสาหกรรมและการค้าการบริการ จังหวัดอุบลราชธานีได้รับขนานนามว่า" เมืองนักปราชญ์ เมืองศิลปินแห่งชาติ
ประวัติศาสตร์
สมัยอยุธยาและธนบุรี
อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี
เมื่อปี พ.ศ. 2201–2228 เกิดวิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวได้ยกกำลังเข้าปล้นเมืองและเข่นฆ่าผู้คน เจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และ เจ้าปางคำ (เจ้าปางคำได้อพยพไพร่พลมาสร้างเมืองที่หนองบัวลุ่มภูอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้เสด็จขึ้นไปรับเอาเจ้าทั้งสององค์นั้นแลไพร่พล อพยพมาอยู่ด้วยที่หนองบัวลุ่มภู) ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชของเวียงจันทน์ พระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า "นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน"
ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดามีโอรส คือ เจ้าพระตา (เจ้าพระวรปิตา) และเจ้าพระวอ (เจ้าพระวรราชภักดี) ซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา พ.ศ. 2314 เกิดสงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยพระเจ้าสิริบุญสาร พระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระตา เจ้าพระวอ แม้ว่าเจ้าพระตาเจ้าพระวอจะได้เคยให้ความช่วยเหลือเจ้าสิริบุญสาร เมื่อครั้งเกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในล้านช้างเวียงจันทน์ ด้วยการให้ที่พักพิงและหลบราชภัยในเมืองหนองบัวลุ่มภู(นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน) นานกว่าสิบปี ทั้งยังช่วยยกทัพไปชิงบัลลังก์ล้านช้างเวียงจันทน์จากเจ้านอง (น้องชายต่างบิดาของเจ้าชมพูซึ่งเป็นลูกของพี่ชายของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช) มาให้แก่เจ้าสิริบุญสารจนได้นั่งเมืองเป็นพระเจ้าล้านช้างเวียงจันทน์ แต่เจ้าสิริบุญสารต้องการมีอำนาจเหนือดินแดนที่แวดล้อมล้านช้างเวียงจันทน์ (ล้านช้างหลวงพระบาง-เมืองหนองบัวลุ่มภู) และมีความระแวงเมืองหนองบัวลุ่มภู ที่มีไพร่พลมาก และมีกำลังทัพที่เก่งกาจสามารถ อีกทั้งเจ้าพระตาเจ้าพระวอ เป็นเชื้อเครือญาติกับพระเจ้าล้านช้างหลวงพระบาง (เจ้ากิ่งกิสราช) ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าไทลื้อเมืองเชียงรุ้งสิบสองปันนาเหมือนกัน และได้เคยช่วยเหลือกันมา จากเมื่อคราวที่เกิดการแย่งชิงราชบัลลังก์ในล้านช้างเวียงจันทน์ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ได้พาเจ้าอินทกุมาร เจ้ากิ่งกิสราชและเจ้าอินทโสมไปหลบราชภัยที่เมืองล่าเมืองพงสิบสองปันนา แลล้านช้างหลวงพระบางและล้านช้างเวียงจันทน์ก็เป็นอริต่อกัน ด้วยความหวาดระแวงและการไร้ซึ่งจิตสำนึกต่อผู้มีพระคุณที่ได้ช่วยเหลือตนมาของเจ้าสิริบุญสาร พระองค์จึงต้องการมีอำนาจเหนือเมืองหนองบัวลุ่มภูแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเจ้าสิริบุญสารได้ขอให้เจ้าพระตาและเจ้าพระวอไปช่วยรักษาการที่ด่านบ้านหินโงมและได้ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม (เพื่อเป็นตัวประกันอย่างธรรมเนียมเมืองขึ้นในสมัยนั้น) แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไม่ยอมยกให้ เพราะเมืองหนองบัวลุ่มภูมิได้เป็นเมืองขึ้นแก่เวียงจันทน์ เจ้าพระตาและเจ้าพระวอจึงยกทัพกลับเมืองหนองบัวลุ่มภู ทำให้เจ้าสิริบุญสารใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างยกกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้จนกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายกลับไปหลายครั้ง
สงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน พระเจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองนคร เชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทน์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
โดยแรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอุสา นางสีดา นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ "ดอนมดแดง" พร้อมขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีเจ้าพระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยเจ้าคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันทน์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทน์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าคำผงหลังเสร็จศึกได้กลับไปตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม (ปัจจุบัน คือบ้านท่าบ่อ) รอจนน้ำลด แล้วในปีถัดมา ได้หาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่ที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่าดงอู่ผึ้ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
ต่อมา พ.ศ. 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี พร้อมให้เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองในราชทินนาม "พระประทุมราชวงศา" เจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร โดยเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบลราชธานี
สมัยรัตนโกสินทร์
ใน พ.ศ. 2334 เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช แต่งตั้งให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก อีกทั้งยังพระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ต่อมาใน พ.ศ. 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิดพรหม) น้องชายเจ้าพระประทุม ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน
ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีแล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง ดังนี้
พ.ศ. 2357 โปรดฯ ให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาคอขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม และยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม
พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ให้เป็นเมือง ขอแต่งตั้งท้าวจันทบรมเป็นพระอมรอำนาจและเป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด และให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ยังให้ท้าวสุริโยซึ่งเป็นราชบุตรรักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมืองพิบูลมังสาหาร โดยตั้งท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี)เป็นพระบำรุงราษฎร์และเป็นเจ้าเมือง และให้ตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล โดยตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจและเป็นเจ้าเมือง
พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ
จากเหตุการณ์ก่อตั้งเมืองทั้งหมดนี้ ส่งผลให้อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ครอบคลุมพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น โดยแม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง ให้ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล
ใน พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก
ใน พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดยโสธร และต่อมาใน พ.ศ. 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ